วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

การเคลื่อนที่แบบต่างๆ

การเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ รอบตัวเรา อาจจะเป็นการเคลื่อนที่แนวตรง หรืออาจเป็นแนวโค้ง เช่น ลูกบาสเกต- บอลที่ ก าลังลอยเข้าห่วง สายน ้าที่พุ่งออกจากหัวฉีด ลูกบอลที่ถูกเตะลอยไปในอากาศ การเลี้ยวของรถเมื่อเข้าทางโค้ง การหมุนของ ใบพัดลม เป็นต้น ในบทนี้เราจะได้ศึกษาการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ได้แก่ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบ วงกลม และการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย  อ่านเพิ่มเติม




แรงและกฎการเคลื่อนที่

แรง (Force)ตามความหมายที่ใช้กันทั่วไป แรงคือ สิ่งที่กระทำต่อวัตถุในรูปของการพยายามดึงหรือดันที่จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ และเมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่หรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้อาจเพราะมีแรงอื่นกระทำต่อวัตถุด้วย เช่น ถ้าวัตถุวางบนพื้น แรงเสียดทานระหว่างพื้นกับวัตถุก็จะกระทำต่อวัตถุด้วย หากแรงที่กระทำต่อวัตถุไม่มากพอที่จะเอาชนะแรงเสียดทานวัตถุก็จะไม่เคลื่อนที่ หรือกรณีการออกแรงกระทำต่อวัตถุที่ยึดไว้อย่างแข็งแรง เช่น เสา หรือกำแพง เสาหรือกำแพงย่อมไม่เคลื่อนที่ เพราะแรงจากส่วนอื่นกระทำต่อวัตถุด้วย สำหรับวัตถุที่ไม่ได้ยึดไว้หรือมีแรงเสียดทานน้อย เช่นรถทดลอง แรงจะทำให้รถเคลื่อนที่ได้ และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไปตามทิศที่แรงกระทำซึ่งอาจจะสังเกตได้จากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเตะลูกฟุตบอล หรือตีเทนนิส จะมีแรงกระทำต่อลูกฟุตบอลและลูกเทนนิสในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ทำให้ลูกฟุตบอลและลูกเทนนิสเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนความเร็วไปตามแรงกระทำ อ่านเพิ่มเติม



การเคลื่อนที่แนวตรง

การเคลื่อนที่แนวตรงของวัตถุ เป็นการเคลื่อนที่ที่ไม่เปลี่ยนทิศทาง เช่น การเคลื่อนที่ของลูกมะพร้าวเมื่อตกจากต้นสู่พื้นดิน การเคลื่อนที่ของรถยนต์บนถนนตรง การเคลื่อนที่ของนักกีฬาว่ายน้ำในลู่ของสระ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม



บทนำ
ฟิสิกส์ (Physics) มาจากภาษากรีก ซึ่งหมายความว่าธรรมชาติ (nature) คือวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับมวลสารและพลังงานเพื่อนาไปอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สังเกตเห็นหรือแก้ปัญหาที่เร้นลับทางธรรมชาติ

วิชาฟิสิกส์
วิชาฟิสิกส์ที่นักเรียนจะได้เรียน จะเป็นความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้น และสะสมกันมาในช่วงเวลา 400ปีซึ่งเป็นส่วนพื้นฐานของวิชาที่ได้จัดให้เป็นระบบ เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการเรียนรู้ และในที่สุดเรื่องต่าง ๆ ที่เรียนจะสัมพันธ์กันทุกเรื่อง การเรียนรู้ที่ดีจะต้องมีความเข้าใจหลักการของเรื่องนั้น ๆ จนสามารถนาหลักการไปประยุกต์ได้ การฝึกให้สามารถประยุกต์หลักการกับการแบบฝึกหัดหรือโจทย์ปัญหาเป็นส่วนสาคัญอย่างหนึ่งที่นักเรียนควรพยายามคิดด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นการฝึกคิดอย่างฟิสิกส์หรืออย่าง2